โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เกิดขึ้นในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
- จอมพล ถนอม กิติขจร
- จอมพล ประภาษ กิติขจร
การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2504 – 2509) เน้นไป ในทิศทางใด
- ยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชน
- การพัฒนาคุณภาพคน
- การพัฒนาชนบท
- สร้างเทคโนโลยีให้ทันสมัย
ข้อใด ไม่มี ในสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (2510 – 2514)
- การลงทุนของชาวต่างชาติ
- การลดอัตราการเพิ่มของประชากร
- การพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข
- การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค
ผลของการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับอะไร
- ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก
- การผลิตรถยนต์
- การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน และเศรษฐกิจซบเซา เมื่อสิ้นแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 (2515 – 2519)
- การขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก
- ฝนทิ้งช่วง
- การเมืองขาดเสถียรภาพ
- การตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในไทย
เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2520 – 2524 ) เน้นฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดภายหลังเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ผ่านมา โดยใช้มาตรการอย่างไร
- ลดค่าเงินบาท
- พัฒนาการผลิตภาคเกษตร
- พัฒนากิจการท่องเที่ยว
- พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
สาระสำคัญและเป้าหมายหลักของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) คือข้อใด
- ยกระดับฐานะของประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
- เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็น "กึ่งเกษตร กึ่งอุตสาหกรรม"
- แก้ไขปัญหาความยากจนและเน้นการพัฒนาชนบท
- พัฒนาคุณภาพประชากร
สิ้นสุดแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 ได้พบว่าประสบความสำเร็จมากกว่าแผนพัฒนา ฯ ฉบับก่อนๆ หลายประการ แต่ ยกเว้น ข้อใดผิดความจริง
- การกระจายรายได้เสมอภาคและเป็นธรรม
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมาย
- ฐานะการเงินและการคลังมีเสถียรภาพ
- ภาระหนี้สินของประเทศลดลง
นายกรัฐมนตรีคนใดของไทยที่นำนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน
- ชวน หลีกภัย
- อานันท์ ปัณยารชุน
- ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 (2530 – 2534) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาในข้อใด ที่แตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่นๆ ที่ผ่านมา
- พัฒนาระบบราชการ
- พัฒนาการผลิตเพื่อให้แข่งขันในตลาดโลกได้
- พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- พัฒนาความเจริญไปสู่ชนบท
ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ปรากฏในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 (2535 – 2539 )
- ส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ
- ให้คนไทยอ่านออกเขียนได้ร้อยละ 100
- ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี
- พัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาให้สูงขึ้น
เป้าหมายสำคัญที่สุดของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 (2540 – 2544) คือเน้นการพัฒนาในด้านใด
- พัฒนาการศึกษา โดปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัยสู่สากล
- พัฒนากิจการรัฐวิสาหกิจ โดยแปรรูปให้เป็นบริษัทมหาชน
- พัฒนาคน หรือเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
- พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ได้อัญเชิญ “หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวปฏิบัติ มีความหมายอย่างไร
- พัฒนาประเทศให้เป็นสังคมเกษตรที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และมีคุณภาพ
- พัฒนาประเทศโดยยึดหลักทางสายกลางพอประมาณ และมีเหตุผล
- เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพึ่งตนเองพออยู่ พอกิน พอใช้
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อนำประเทศสู่สากล
ข้อใด เป็นมาตรการเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน พึ่งตนเองได้ และรู้เท่าทันโดลกตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9
- พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการ ทั้งในวงราชการ การเมืองและภาคเอกชน
- พัฒนาคน โดยปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปสุขภาพ
- พัฒนาด้านอาชีพ การมีรายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
- ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ ทั้งภาคการเงินและการคลัง
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนเรียนจนจบระดับอุดมศึกษา
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเริ่มมีขึ้น ครั้งแรกในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2559
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละแผน จะมีระยะเวลา 5 ปี ยกเว้นฉบับที่ 1 มีระยะเวลา 6 ปี
สำนักงบประมาณ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับใด
- ฉบับที่ 1
- ฉบับที่ 2
- ฉบับที่ 3
- ฉบับที่ 4
โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ในภูมิภาคเกิดขึ้น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใด
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 3
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 4
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ขยายการศึกษาภาคพื้นฐานจาก 6 ปีเป็น 9 ปี
- ฉบับที่ 7
- ฉบับที่ 3
- ฉบับที่ 5
- ฉบับที่ 9
ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ “เศรษฐกิจฟองสบู่ของไทย”หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” มีผลมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด
- ฉบับที่ 8
- ฉบับที่ 10
- ฉบับที่ 4
- ฉบับที่ 2
ข้อใดไม่ใช่ สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาวิกกฤตเศรษฐกิจ 2540
- การส่งออกสินค้าภาคเกษตรลดลงเพราะเกิดปัญหาภัยแล้ง
- การพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสัดส่วนที่สูงมาก
- มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก